ข้อมูลยาสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
Ergotamine tartrate 1 mg + Caffeine 100 mg tablet (TOFAGO)
ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย
เออร์โกทามินทาร์เทรต 1 มิลลิกรัม และคาเฟอีน 100 มิลลิกรัม ชนิดเม็ด Click to listen highlighted text! ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย เออร์โกทามินทาร์เทรต 1 มิลลิกรัม และคาเฟอีน 100 มิลลิกรัม ชนิดเม็ด
ข้อบ่งใช้
เพื่อป้องกันและรักษาอาการปวดไมเกรน Click to listen highlighted text! ข้อบ่งใช้ เพื่อป้องกันและรักษาอาการปวดไมเกรน
ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง
1.ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้หรือแพ้ส่วนประกอบของยานี้
2.ห้ามใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร
3.ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดส่วนปลายตีบ
4.ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจตีบ หรือผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูงที่ยังควบคุมอาการไม่ได้
5.ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาต่อไปนี้ ได้แก่ อีริโทรไมซิน (Erythromycin) คลาริโทรไมซิน (Clarithromycin) คีโทโคนาโซล (Ketoconazole) อิทราโคนาโซล (Itraconazole) วอริโคนาโซล (Voriconazole) ยาบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนกลุ่มทริปแทน (Triptan) ยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มโปรตีเอส อินอิบิเตอร์ (protease inhibitors) เช่น ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) อินดินาเวียร์ (Indinavir) เนลฟินาเวียร์ เพราะอาจเกิดจากยาทำให้หลอดเลือดส่วนปลายตีบ Click to listen highlighted text! ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง 1.ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้หรือแพ้ส่วนประกอบของยานี้ 2.ห้ามใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร 3.ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดส่วนปลายตีบ 4.ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจตีบ หรือผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูงที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ 5.ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาต่อไปนี้ ได้แก่ อีริโทรไมซิน (Erythromycin) คลาริโทรไมซิน (Clarithromycin) คีโทโคนาโซล (Ketoconazole) อิทราโคนาโซล (Itraconazole) วอริโคนาโซล (Voriconazole) ยาบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนกลุ่มทริปแทน (Triptan) ยาต้านรีโทรไวรัสกลุ่มโปรตีเอส อินอิบิเตอร์ (protease inhibitors) เช่น ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) อินดินาเวียร์ (Indinavir) เนลฟินาเวียร์ เพราะอาจเกิดจากยาทำให้หลอดเลือดส่วนปลายตีบ
คำแนะนำในการใช้ยา
- ควรกินยาทันทีเมื่อมีอาการ
- หากกินยามื้อแรกไปแล้วครึ่งชั่วโมงอาการยังไม่บรรเทาอาจกินซ้ำได้อีก 1 เม็ด
- ห้ามกินยานี้เกินวันละ 6 เม็ด และไม่เกินสัปดาห์ละ 10 เม็ด
- หากกินยาอื่นร่วมด้วยควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง Click to listen highlighted text! คำแนะนำในการใช้ยา - ควรกินยาทันทีเมื่อมีอาการ - หากกินยามื้อแรกไปแล้วครึ่งชั่วโมงอาการยังไม่บรรเทาอาจกินซ้ำได้อีก 1 เม็ด - ห้ามกินยานี้เกินวันละ 6 เม็ด และไม่เกินสัปดาห์ละ 10 เม็ด - หากกินยาอื่นร่วมด้วยควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง
อาการไม่พึงประสงค์
- หากกินยานี้แล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ บวมที่ใบหน้า เปลือกตา หรือริมฝีปาก ผื่นแดง หายใจลำบาก เจ็บปลายมือปลายเท้า ปลายมือปลายเท้าเป็นสีม่วงคล้ำ อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที
- ยานี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญ เช่น มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร โดยอาจไม่จำเป็นต้องหยุดยาทันที Click to listen highlighted text! อาการไม่พึงประสงค์ - หากกินยานี้แล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ บวมที่ใบหน้า เปลือกตา หรือริมฝีปาก ผื่นแดง หายใจลำบาก เจ็บปลายมือปลายเท้า ปลายมือปลายเท้าเป็นสีม่วงคล้ำ อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที - ยานี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญ เช่น มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หากมีอาการควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร โดยอาจไม่จำเป็นต้องหยุดยาทันที
การเก็บรักษายา
ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง ไม่โดนความร้อนหรือแสง ในภาชนะบรรจุเดิมที่ได้รับมา Click to listen highlighted text! การเก็บรักษายา ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง ไม่โดนความร้อนหรือแสง ในภาชนะบรรจุเดิมที่ได้รับมา
ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร Click to listen highlighted text! ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร
ที่มาของข้อมูล: นริสา ตัณฑัยย์, พาขวัญ ปุณณุปูรต, วุฒิรัต ธรรมวุฒิ, ผุสดี ปุจฉาการ, นิติ โอสิริสกุล, ชัยรัตน์ ฉายากุล, บรรณาธิการ. ข้อมูลยาประชาชน : ฉลากยาเสริม และข้อมูลความปลอดภัยในการใช้ยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา ; 2561. Click to listen highlighted text! ที่มาของข้อมูล: นริสา ตัณฑัยย์, พาขวัญ ปุณณุปูรต, วุฒิรัต ธรรมวุฒิ, ผุสดี ปุจฉาการ, นิติ โอสิริสกุล, ชัยรัตน์ ฉายากุล, บรรณาธิการ. ข้อมูลยาประชาชน : ฉลากยาเสริม และข้อมูลความปลอดภัยในการใช้ยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา ; 2561.
ขอความกรุณาผู้ใช้บริการตอบแบบสำรวจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับฉลากยาออนไลน์ (กดเพื่อตอบแบบสำรวจ)