ข้อมูลยาสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

Regular insulin (Soluble insulin sterile solution 100 iu/1mL) (ACTRAPID) (10 mL)

 

ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย

อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น   Click to listen highlighted text! ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น


  ข้อบ่งใช้

ลดน้ำตาลในเลือด   Click to listen highlighted text! ข้อบ่งใช้ ลดน้ำตาลในเลือด


ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง

ห้ามใช้หากแพ้ยา หรือส่วนประกอบของยา   Click to listen highlighted text! ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง ห้ามใช้หากแพ้ยา หรือส่วนประกอบของยา


คำแนะนำในการใช้ยา 

1.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด เช็ดมือให้แห้ง

2.นำขวดยาออกจากตู้เย็น คลึงขวดยาอินซูลินเบาๆ บนฝามือสองข้าง เพื่อให้ยาเข้ากันสม่ำเสมอไม่แยกชั้น 

และมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย ช่วยลดอาการปวดหลังการฉีด 

3.เปิดฝาครอบจุกยางออก (ถ้ามี) เช็ดจุกยางด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 

4.นำกระบอกฉีดยา (syringe) ดูดอากาศเข้าปริมาตรเท่ากับขนาดอินซูลินที่ต้องการ 

5.แทงเข็มฉีดยาทะลุจุกยางของขวดยา แล้วฉีดอากาศเข้าไปในขวดยา 

6.คว่ำขวดยาที่มีเข็มปักค้างอยู่ลงให้สารละลายอินซูลินท่วมปลายเข็ม แล้วค่อย ๆ ดูดอินซูลินเข้าไปในหลอดฉีดยาปริมาตรเท่ากับขนาดอินซูลินที่ต้องการ

(ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ โดยถ้ามีฟองอากาศ ให้ฉีดกลับเข้าขวดยา แล้วดูดใหม่) 

7.ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่ฉีดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 

8.ใช้มือข้างหนึ่งดึงผิวหนังบริเวณที่ฉีดให้สูงขึ้น มืออีกข้างจับกระบอกฉีดยาคล้ายการจับปากกาแล้วแทงเข็มผ่านผิวหนัง

โดยให้ปลายเข็มเอียงทำมุม 45-90° กับผิวหนังบริเวณนั้น แล้วค่อย ๆ กดก้านสูบของกระบอกฉีดยา เพื่อฉีดอินซุลินช้า ๆ 

9.ถอนเข็มออก แล้วกดเบาๆบริเวณที่ฉีดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ ไม่ควรคลึงหรือนวดบริเวณที่ฉีดยาหลังฉีดยาเสร็จแล้ว   Click to listen highlighted text! คำแนะนำในการใช้ยา  1.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาด เช็ดมือให้แห้ง 2.นำขวดยาออกจากตู้เย็น คลึงขวดยาอินซูลินเบาๆ บนฝามือสองข้าง เพื่อให้ยาเข้ากันสม่ำเสมอไม่แยกชั้น  และมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกาย ช่วยลดอาการปวดหลังการฉีด  3.เปิดฝาครอบจุกยางออก (ถ้ามี) เช็ดจุกยางด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์  4.นำกระบอกฉีดยา (syringe) ดูดอากาศเข้าปริมาตรเท่ากับขนาดอินซูลินที่ต้องการ  5.แทงเข็มฉีดยาทะลุจุกยางของขวดยา แล้วฉีดอากาศเข้าไปในขวดยา  6.คว่ำขวดยาที่มีเข็มปักค้างอยู่ลงให้สารละลายอินซูลินท่วมปลายเข็ม แล้วค่อย ๆ ดูดอินซูลินเข้าไปในหลอดฉีดยาปริมาตรเท่ากับขนาดอินซูลินที่ต้องการ (ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ โดยถ้ามีฟองอากาศ ให้ฉีดกลับเข้าขวดยา แล้วดูดใหม่)  7.ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่ฉีดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์  8.ใช้มือข้างหนึ่งดึงผิวหนังบริเวณที่ฉีดให้สูงขึ้น มืออีกข้างจับกระบอกฉีดยาคล้ายการจับปากกาแล้วแทงเข็มผ่านผิวหนัง โดยให้ปลายเข็มเอียงทำมุม 45-90° กับผิวหนังบริเวณนั้น แล้วค่อย ๆ กดก้านสูบของกระบอกฉีดยา เพื่อฉีดอินซุลินช้า ๆ  9.ถอนเข็มออก แล้วกดเบาๆบริเวณที่ฉีดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ ไม่ควรคลึงหรือนวดบริเวณที่ฉีดยาหลังฉีดยาเสร็จแล้ว    


           คำแนะนำเพิ่มเติม  

-บริเวณที่ฉีดได้แก่ หน้าท้อง (ดีสุด) โดยทิ้งห่างจากสะดือสองนิ้ว หน้าขา หน้าแขน บั้นเอว 

-ควรเปลี่ยนตำแหน่งฉีดยาบ่อยๆ โดยควรเลื่อนให้ตำแหน่งฉีดยาห่างจากตำแหน่งหลังสุด1นิ้ว 

-หากมีอาการน้ำตาลต่ำ เช่น ใจ/มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด เป็นต้น ให้รับประทานน้ำหวาน หรือลูกอมทันที หากยังไม่ดีขึ้นภายใน15-30นาที ควรรีบไปพบแพทย์   

-ไม่ควรใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้อื่น 

-ยาควรฉีดก่อนอาหารไม่เกิน5-15นาที 

-ตรวจสอบขนาดยาให้ถูกต้องตามแพทย์สั่งก่อนฉีดและไม่ควรปรับขนาดยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ 

-ควรสวมปลอกเข็มแล้วทิ้งกระบอกฉีดยาในภาชนะที่มีฝาผิดมิดชิด 

-หากน้ำยาแยกชั้น ควรทำให้ผสมขุ่นเป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้ ด้วยวิธีการคลึงขวดยาหรือแกว่งขวดยาด้วยข้อมือขึ้นลงช้าๆ โดยห้ามเขย่าเนื่องจากจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ   Click to listen highlighted text! คำแนะนำเพิ่มเติม   -บริเวณที่ฉีดได้แก่ หน้าท้อง (ดีสุด) โดยทิ้งห่างจากสะดือสองนิ้ว หน้าขา หน้าแขน บั้นเอว  -ควรเปลี่ยนตำแหน่งฉีดยาบ่อยๆ โดยควรเลื่อนให้ตำแหน่งฉีดยาห่างจากตำแหน่งหลังสุด1นิ้ว  -หากมีอาการน้ำตาลต่ำ เช่น ใจ/มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด เป็นต้น ให้รับประทานน้ำหวาน หรือลูกอมทันที หากยังไม่ดีขึ้นภายใน15-30นาที ควรรีบไปพบแพทย์    -ไม่ควรใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้อื่น  -ยาควรฉีดก่อนอาหารไม่เกิน5-15นาที  -ตรวจสอบขนาดยาให้ถูกต้องตามแพทย์สั่งก่อนฉีดและไม่ควรปรับขนาดยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้  -ควรสวมปลอกเข็มแล้วทิ้งกระบอกฉีดยาในภาชนะที่มีฝาผิดมิดชิด  -หากน้ำยาแยกชั้น ควรทำให้ผสมขุ่นเป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้ ด้วยวิธีการคลึงขวดยาหรือแกว่งขวดยาด้วยข้อมือขึ้นลงช้าๆ โดยห้ามเขย่าเนื่องจากจะทำให้ยาเสื่อมสภาพ


อาการไม่พึงประสงค์

ยานี้อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ปวดบริเวณที่ฉีด ผิวหนังบริเวณที่ฉีดบุบหรือช้ำ  ผื่นแพ้ คัน   Click to listen highlighted text! อาการไม่พึงประสงค์ ยานี้อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ปวดบริเวณที่ฉีด ผิวหนังบริเวณที่ฉีดบุบหรือช้ำ  ผื่นแพ้ คัน   


การเก็บรักษายา

1.เก็บขวดยาในตู้เย็นช่องธรรมดา (2-8°) โดยไม่ควรเก็บที่ฝาตู้เย็น ช่องแช่แข็งและใต้ช่องแช่แข็ง 

2.หากยังไม่เปิดใช้อายุยาตามวันหมดอายุบนขวดยา แต่หากเปิดใช้แล้วอายุยา 1 เดือน   Click to listen highlighted text! การเก็บรักษายา 1.เก็บขวดยาในตู้เย็นช่องธรรมดา (2-8°) โดยไม่ควรเก็บที่ฝาตู้เย็น ช่องแช่แข็งและใต้ช่องแช่แข็ง  2.หากยังไม่เปิดใช้อายุยาตามวันหมดอายุบนขวดยา แต่หากเปิดใช้แล้วอายุยา 1 เดือน


วิดีโอแนะนำการใช้ยา

 

ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร   Click to listen highlighted text! ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร


ที่มาของข้อมูล:

1.สุชาดา ชุติมาวรพันธ์, โพยม วงศ์ภูวรักษ์, อภิฤดี เหมะจุฑา, ฐิติมา ด้วงเงิน, กิติยศ ยศสมบัติ, บรรณาธิการ. คู่มือทักษะตามเกณฑ์ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (สมรรถนะร่วม) พ.ศ. 2562. นนทบุรี: บริษัท เอช อาร์ พริ้นซ์ แอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด ; 2562   

2.Micromedex® [Database on internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c2020. Available from: http://www.micromedexsolutions.com /micromedex2/librarian/.  


ขอความกรุณาผู้ใช้บริการตอบแบบสำรวจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับฉลากยาออนไลน์ (กดเพื่อตอบแบบสำรวจ) click here to access satisfaction survey

Click to listen highlighted text!