ข้อมูลยาสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

Insulin (Isophane protamine insulin (NPH) : I์NSULATARD Penfill)


ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย

อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง   Click to listen highlighted text! ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง


  ข้อบ่งใช้

ลดน้ำตาลในเลือด   Click to listen highlighted text! ข้อบ่งใช้ ลดน้ำตาลในเลือด


ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง

ห้ามใช้หากแพ้ยา หรือส่วนประกอบของยานี้   Click to listen highlighted text! ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง ห้ามใช้หากแพ้ยา หรือส่วนประกอบของยานี้


คำแนะนำในการใช้ยา 

1.กรณีบรรจุหลอดอินซูลินใหม่ หรือเปลี่ยนหัวเข็มใหม่ ให้ไล่ฟองอากาศ หรือทดสอบว่าปลายเข็มอุดตันหรือไม่ โดยปรับขนาดยาไปที่ 1 ยูนิต จับปากกาในแนวตั้งให้ปลายเข็มอยู่ด้านบน ถอดปลอกปากกา ใช้นิ้วเคาะด้านข้างของปากกา เพื่อไล่ฟองอากาศให้ลอยขึ้น แล้วกดปุ่มฉีดยาจนกว่าจะมีหยดยาออกจากปลายเข็ม

2.เมื่อถึงเวลาฉีดยา ให้หมุนปรับขนาดยาตามจำนวนยูนิตที่แพทย์สั่ง

3.ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา โดยเช็ดวนเป็นก้นหอย หรือเช็ดลงในแนวดิ้ง 3 ครั้ง ไม่เช็ดย้อนไปมา

4.ใช้มือข้างที่ถนัดกำปากกาด้วยนิ้วทั้ง 4 และให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ตำแหน่งปุ่มกด ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ของมืออีกข้างจับผิวหนังยกขึ้นในคนผอม  หรือดึงผิวให้ตึงในคนอ้วน หลีกเลี่ยงการดึงและบีบผิวหนังจนแน่น เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของยาเมื่อถอนเข็มออก

5.แทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนังจนมิดเข็ม แล้วกดปุ่มฉีดยาอย่างช้าๆ จนสุดถึงเลข 0 แล้วค้างไว้ นับ 1-10 ช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ ถอนเข็มออก

6.ใช้สำลีแห้งกดเบาๆบริเวณที่ฉีดสักครู่ ห้ามคลึงหรือนวดบริเวณที่ฉีดยา 

7.สวมปลอกเข็มกลับอย่างระมัดระวัง และปิดปลอกปากกา   Click to listen highlighted text! คำแนะนำในการใช้ยา  1.กรณีบรรจุหลอดอินซูลินใหม่ หรือเปลี่ยนหัวเข็มใหม่ ให้ไล่ฟองอากาศ หรือทดสอบว่าปลายเข็มอุดตันหรือไม่ โดยปรับขนาดยาไปที่ 1 ยูนิต จับปากกาในแนวตั้งให้ปลายเข็มอยู่ด้านบน ถอดปลอกปากกา ใช้นิ้วเคาะด้านข้างของปากกา เพื่อไล่ฟองอากาศให้ลอยขึ้น แล้วกดปุ่มฉีดยาจนกว่าจะมีหยดยาออกจากปลายเข็ม 2.เมื่อถึงเวลาฉีดยา ให้หมุนปรับขนาดยาตามจำนวนยูนิตที่แพทย์สั่ง 3.ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา โดยเช็ดวนเป็นก้นหอย หรือเช็ดลงในแนวดิ้ง 3 ครั้ง ไม่เช็ดย้อนไปมา 4.ใช้มือข้างที่ถนัดกำปากกาด้วยนิ้วทั้ง 4 และให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ตำแหน่งปุ่มกด ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ของมืออีกข้างจับผิวหนังยกขึ้นในคนผอม  หรือดึงผิวให้ตึงในคนอ้วน หลีกเลี่ยงการดึงและบีบผิวหนังจนแน่น เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของยาเมื่อถอนเข็มออก 5.แทงเข็มตั้งฉากกับผิวหนังจนมิดเข็ม แล้วกดปุ่มฉีดยาอย่างช้าๆ จนสุดถึงเลข 0 แล้วค้างไว้ นับ 1-10 ช้าๆ แล้วจึงค่อยๆ ถอนเข็มออก 6.ใช้สำลีแห้งกดเบาๆบริเวณที่ฉีดสักครู่ ห้ามคลึงหรือนวดบริเวณที่ฉีดยา  7.สวมปลอกเข็มกลับอย่างระมัดระวัง และปิดปลอกปากกา    


คำแนะนำเพิ่มเติม

-หากใช้อินซูลินชนิดชุ่น ให้กลิ้งปากกาไป-มาช้าๆ บนฝ่ามือ 10 ครั้ง หรือแกว่งช้าๆ อีก 10 ครั้ง ห้ามเขย่า

  -บริเวณที่ฉีดได้แก่ หน้าท้อง (ดีที่สุด) โดยห่างจากสะดือ 1 นิ้ว หรือเท่ากับความกว้างของสองนิ้วมือ รองลงมาได้แก่ ต้นขา ต้นแขน สะโพก

-ควรเปลี่ยนตำแหน่งฉีดยาบ่อยๆ โดยควรเลื่อนให้ตำแหน่งฉีดยาห่างจากตำแหน่งที่ฉีดครั้งล่าสุด 1 นิ้ว

-ตรวจสอบขนาดยาให้ถูกต้องตามแพทย์สั่งก่อนฉีด และไม่ควรปรับขนาดยาเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้  

-ไม่ควรใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้อื่น 

-เข็ม 1 อัน สามารถฉีดซ้ำได้ 3 - 5 ครั้ง ห้ามใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดเข็มเพราะจะทำให้สารหล่อลื่นบริเวณเข็มหมดไป ทำให้ฉีดยาแล้วเจ็บ และติดเชื้อได้

-เปลี่ยนเข็มใหม่ทุกครั้ง หากเข็มสัมผัสสิ่งใดๆ เช่น เสื้อผ้า ปลอกเข็ม เป็นต้น 

-ควรสวมปลอกเข็มแล้วทิ้งเข็มในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด 

-หากมีอาการน้ำตาลต่ำ เช่น ใจ/มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด เป็นต้น ให้รับประทานน้ำหวาน หรือลูกอมทันที หากยังไม่ดีขึ้นภายใน 15-30 นาที ควรรีบไปพบแพทย์  


อาการไม่พึงประสงค์

ยานี้อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ปวดบริเวณที่ฉีด ผิวหนังบริเวณที่ฉีดบุบหรือช้ำ  ผื่นแพ้ คัน   Click to listen highlighted text! อาการไม่พึงประสงค์ ยานี้อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ปวดบริเวณที่ฉีด ผิวหนังบริเวณที่ฉีดบุบหรือช้ำ  ผื่นแพ้ คัน   


การเก็บรักษายา

1.ยาฉีดที่ยังไม่เปิดใช้ ให้เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งานตามวันหมดอายุบนฉลากยา ห้ามเก็บที่บานประตูตู้เย็น ช่องแช่แข็ง กล่องเก็บของใต้ช่องแช่แข็ง และช่องเก็บผัก       

2.ยาฉีดที่เปิดใช้แล้ว หรือบรรจุปากกาแล้ว ให้เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 - 30 องศาเซลเซียส ไม่โดนแดด ส่วนใหญ่จะหมดอายุในเวลา 1 เดือนนับจากวันแรกที่เปิดใช้   Click to listen highlighted text! การเก็บรักษายา 1.ยาฉีดที่ยังไม่เปิดใช้ ให้เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ 2 - 8 องศาเซลเซียส มีอายุการใช้งานตามวันหมดอายุบนฉลากยา ห้ามเก็บที่บานประตูตู้เย็น ช่องแช่แข็ง กล่องเก็บของใต้ช่องแช่แข็ง และช่องเก็บผัก        2.ยาฉีดที่เปิดใช้แล้ว หรือบรรจุปากกาแล้ว ให้เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25 - 30 องศาเซลเซียส ไม่โดนแดด ส่วนใหญ่จะหมดอายุในเวลา 1 เดือนนับจากวันแรกที่เปิดใช้


วิดีโอแนะนำการใช้ปากกาฉีดอิซูลิน

ที่มาของวิดีโอ : คู่มือการใช้ปากกาฉีดอินซูลิน โนโวเพน 4 (ภาษาไทย) โดย บริษัท Novo Nordisk Pharma Thailand Ltd.

อัพโหลดลง youtube โดย ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี   Click to listen highlighted text! วิดีโอแนะนำการใช้ปากกาฉีดอิซูลิน ที่มาของวิดีโอ : คู่มือการใช้ปากกาฉีดอินซูลิน โนโวเพน 4 (ภาษาไทย) โดย บริษัท Novo Nordisk Pharma Thailand Ltd. อัพโหลดลง youtube โดย ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี


ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร   Click to listen highlighted text! ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร  


ที่มาของข้อมูล:

1.สุชาดา ชุติมาวรพันธ์, โพยม วงศ์ภูวรักษ์, อภิฤดี เหมะจุฑา, ฐิติมา ด้วงเงิน, กิติยศ ยศสมบัติ, บรรณาธิการ. คู่มือทักษะตามเกณฑ์ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (สมรรถนะร่วม) พ.ศ. 2562. นนทบุรี: บริษัท เอช อาร์ พริ้นซ์ แอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด ; 2562   

2.Micromedex® [Database on internet]. Colorado: Thomson Reuters (Healthcare); c2020. Available from: http://www.micromedexsolutions.com /micromedex2/librarian/.

3.โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. การฉีดยาอินซูลินด้วยปากกา (Insulin). Available from: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/902.


ขอความกรุณาผู้ใช้บริการตอบแบบสำรวจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับฉลากยาออนไลน์ (กดเพื่อตอบแบบสำรวจ) click here to access satisfaction survey

Click to listen highlighted text!