ข้อมูลยาสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
Tretinoin 0.025%w/w cream (A-TINIC)
ชื่อสามัญทางยาภาษาไทย
เตรทติโนอิน ชนิดครีม ทาภายนอก ความเข้มข้น 0.025%
ข้อบ่งใช้
1.ใช้รักษาใช้รักษาสิวบริเวณผิวหนัง,ช่วยผลัดเซลล์ผิว
2.แพทย์อาจใช้ยานี้รักษาโรคติดเชื้ออื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ หากสงสัยให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง
1.ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้หรือ แพ้ส่วนประกอบของยานี้หรือยาเตรทติโนอิน
2.ห้ามใช้ในผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
คำแนะนำในการใช้ยา
ทาบริเวณผิวหน้า ระวังอย่าให้ยาสัมผัสดวงตา ปาก รอยพับข้างจมูก
ระหว่างที่ใช้ยา ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดเพราะผิวจะไวต่อแสง โดยให้ใช้ครีมกันแดดหรือสวมใส่เสื้อผ้าป้องกันแสงแดดเวลาออกกลางแจ้ง
ห้ามใช้ยาบนผิวหนังที่ไหม้แดด หรือผิวหนังอักเสบ
ในระหว่างที่ใช้ยา อาการของสิวอาจแย่ลงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และเมื่อเวลาผ่านไป อาการจะดีขึ้นเอง
อาการไม่พึงประสงค์
อาจเกิดอาการ ผิวลอก ผิวบาง แสบผิว แสบอย่างรุนแรง ระคายเคือง หรือชาบริเวณที่ใช้ยา
ควรทาครีมกันแดดร่วมด้วย
หากเกิดอาการที่สงสัยว่าแพ้ยา เช่น บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ ผื่นแดง ให้หยุดยาและรีบพบแพทย์ทันที
การเก็บรักษายา
ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง ไม่โดนความร้อนหรือแสง ในภาชนะบรรจุเดิมที่ได้รับมา Click to listen highlighted text! ข้อบ่งใช้ 1.ใช้รักษาใช้รักษาสิวบริเวณผิวหนัง,ช่วยผลัดเซลล์ผิว 2.แพทย์อาจใช้ยานี้รักษาโรคติดเชื้ออื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ หากสงสัยให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง 1.ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้หรือ แพ้ส่วนประกอบของยานี้หรือยาเตรทติโนอิน 2.ห้ามใช้ในผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คำแนะนำในการใช้ยา ทาบริเวณผิวหน้า ระวังอย่าให้ยาสัมผัสดวงตา ปาก รอยพับข้างจมูก ระหว่างที่ใช้ยา ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดเพราะผิวจะไวต่อแสง โดยให้ใช้ครีมกันแดดหรือสวมใส่เสื้อผ้าป้องกันแสงแดดเวลาออกกลางแจ้ง ห้ามใช้ยาบนผิวหนังที่ไหม้แดด หรือผิวหนังอักเสบ ในระหว่างที่ใช้ยา อาการของสิวอาจแย่ลงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และเมื่อเวลาผ่านไป อาการจะดีขึ้นเอง อาการไม่พึงประสงค์ อาจเกิดอาการ ผิวลอก ผิวบาง แสบผิว แสบอย่างรุนแรง ระคายเคือง หรือชาบริเวณที่ใช้ยา ควรทาครีมกันแดดร่วมด้วย หากเกิดอาการที่สงสัยว่าแพ้ยา เช่น บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ ผื่นแดง ให้หยุดยาและรีบพบแพทย์ทันที การเก็บรักษายา ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง ไม่โดนความร้อนหรือแสง ในภาชนะบรรจุเดิมที่ได้รับมา
ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร Click to listen highlighted text! ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลยาสำหรับให้ประชาชนใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้นเท่านั้น หากมีข้อสงสัยโปรดสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร
ที่มาของข้อมูล: นริสา ตัณฑัยย์, พาขวัญ ปุณณุปูรต, วุฒิรัต ธรรมวุฒิ, ผุสดี ปุจฉาการ, นิติ โอสิริสกุล, ชัยรัตน์ ฉายากุล, บรรณาธิการ. ข้อมูลยาประชาชน : ฉลากยาเสริม และข้อมูลความปลอดภัยในการใช้ยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา ; 2561.